รู้จักเมืองลำพูน
คำขวัญจังหวัดลำพูน
พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวีศรีหริภุญไชย
ประวัติเมืองลำพูน
ลำพูน เป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดในภาคเหนือ นับเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ เคยเป็นที่ตั้งของนครหริภุญชัย ในสมัยพระนางจามเทวี เดิมชื่อเมืองหริภุญไชย เป็นเมืองโบราณมีอายุประมาณ 1,343 ปี ตามพงศาวดารโยนกเล่าสืบต่อกันถึงการสร้างเมืองหริภุญไชย โดยฤๅษีวาสุเทพเป็นผู้เกณฑ์พวกเม็งคบุตรหรือชนเชื้อชาติมอญมาสร้างเมืองนี้ขึ้นในพื้นที่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำกวงและแม่น้ำปิง เมื่อมาสร้างเสร็จได้ส่งทูตไปเชิญราชธิดากษัตริย์เมืองละโว้พระนาม "จามเทวี" มาเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองหริภุญไชยสืบราชวงศ์กษัตริย์ต่อมาหลายพระองค์ จนกระทั่งถึงสมัยพญายีบาจึงได้เสียการปกครองให้แก่พญามังราย ผู้รวบรวมแว่นแคว้นทางเหนือเข้าเป็นอาณาจักรล้านนา
จังหวัดลำพูน"ลำพูน" ในภาษาไทย (บน)
และในคำเมืองอักษรธรรมล้านนา (ล่าง)ชื่อภาษาไทยอักษรไทยลำพูนอักษรโรมัน Lamphun ชื่อคำเมืองอักษรธรรมล้านนา อักษรไทยละปูนส่วนหนึ่งของชุดบทความวัฒนธรรมล้านนาขยายประวัติศาสตร์ขยายผู้คนขยายภาษาขยายประเพณีขยายศาสนาขยายอาหารขยายเทศกาลขยายศิลปะขยายวรรณกรรมและเรื่องเล่าขยายดนตรีและศิลปะการแสดงขยายพื้นที่ในปัจจุบัน
ถึงแม้ว่าเมืองลำพูนจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา แต่ก็ได้เป็นผู้ถ่ายทอดมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมให้แก่ผู้ที่เข้ามาปกครอง ดังปรากฏหลักฐานทั่วไปในเวียงกุมกาม เชียงใหม่ และเชียงราย เมืองลำพูนจึงยังคงความสำคัญในทางศิลปะและวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา จนกระทั่งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมืองลำพูนจึงได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย มีผู้ครองนครสืบต่อกันมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เมื่อเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย คือ พลตรี เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ถึงแก่พิราลัย เมืองลำพูนจึงเปลี่ยนเป็นจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปกครองสืบมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน นอกจากจังหวัดลำพูนจะมีชื่อเสียงในฐานะเป็นเมืองประวัติศาสตร์แล้ว ยังเป็นแหล่งเพาะปลูกลำไย พระเครื่อง โบราณสถานที่สำคัญ และผ้าทอฝีมือดี ปัจจุบันมีประตูเมืองหลักทั้งสี่ทิศคือ ทิศเหนือประตูช้างสี ทิศตะวันออกประตูท่าขาม ทิศใต้ประตูลี้ ทิศตะวันตกประตูมหาวัน มีกำแพงเมืองเก่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือคือ ประตูท่านาง
อาณาเขต
ลำพูนมีพื้นที่ติดกับจังหวัดอื่น ๆ 3 จังหวัด ดังนี้
ทิศเหนือ จรด อำเภอสารภี อำเภอสันกำแพง และ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันออก จรดอำเภอห้างฉัตร อำเภอสบปราบ และอำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง
ทิศใต้ จรดอำเภอเถิน อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง และอำเภอสามเงา จังหวัดตาก
ทิศตะวันตก จรดอำเภอฮอด อำเภอจอมทอง อำเภอหางดง และอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
ที่ตั้ง
จังหวัดลำพูน ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (สายเอเซีย) เป็นระยะทาง 689 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินสายพหลโยธิน เป็นระยะทาง 724 กิโลเมตร และตามทางรถไฟ 729 กิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 18 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศาตะวันออก อยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน อยู่ห่างจากจังหวัดเชียงใหม่เพียง 22 ก.ม. เป็นพื้นที่ ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นศูนย์กลางความเจริญของภาคเหนือตอนบน และอนุภูมิภาค ลุ่มน้ำโขง หรือพื้นที่สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจร่วมกับ จังหวัดเชียงใหม่จังหวัดลำพูนเป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดของภาคเหนือมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4,505.882 ตร.กม. หรือประมาณ 2,815,675 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 4.85 ของพื้นที่ ภาคเหนือตอนบน บริเวณที่กว้างที่สุดประมาณ 43 กม. และยาวจากเหนือจดใต้ 136 กม. ลักษณะภูมิอากาศ จังหวัดลำพูนตั้งอยู่ในภาคเหนือ ซึ่งตามตำแหน่งที่ตั้งอยู่ในเขตร้อนที่ค่อนไปทาง เขตอากาศอบอุ่น ในฤดูหนาวจึงมีอากาศเย็นค่อนข้างหนาว แต่เนื่องจากอยู่ลึกเข้าไปใน แผ่นดินห่างไกลจากทะเล จึงมีฤดูแล้งที่ยาวนานและอากาศจะร้อนถึงร้อนจัดในฤดูร้อน จังหวัดลำพูนมีสภาพภูมิอากาศแตกต่างกันอย่างเด่นชัด 3 ช่วงฤดู คือช่วงเดือนมีนาคม กับเมษายนมีอากาศร้อน ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม จะมีฝนตกชุกเป็นฤดูฝน และช่วงเดือนพฤศจิกายนถึง เดือนกุมภาพันธ์มีอากาศหนาวเย็นเป็นฤดูหนาว ซึ่งฤดูหนาวและฤดูร้อนนั้น เป็นช่วงฤดูแล้ง ที่มีระยะเวลาติดต่อกันประมาณ 6 เดือน ในช่วงฤดูฝนอีก 6 เดือน นั้น อากาศจะไม่ร้อนเท่ากับ ในฤดูร้อน และไม่หนาวเย็นเท่า ฤดูหนาว คือมีอุณหภูมิปานกลางอยู่ระหว่างสองฤดูดังกล่าว
เขตการปกครอง
จังหวัดลำพูนแบ่งการปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 51 ตำบล 574 หมู่บ้าน ดังนี้
ที่ว่าการอำเภอในจังหวัดลำพูน
ที่ว่าการอำเภอทุ่งหัวช้าง เลขที่ 190 หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง
จังหวัดลำพูน 51160
โทรศัพท์: 0-5397-5130
โทรสาร: 0-5397-5130
อีเมล:
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
ที่ว่าการอำเภอบ้านธิ เลขที่ 149 หมู่ที่ 15 ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ
จังหวัดลำพูน 51180
โทรศัพท์: 0-5350-1087
โทรสาร: 0-5350-1087
อีเมล: Banthi99@hotmail.com
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
ที่ว่าการอำเภอบ้านโฮ่ง 255 หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง
จังหวัดลำพูน 51130
โทรศัพท์: 053-980271, 053-980786
โทรสาร: 053-980271
อีเมล: bh_banhong@hotmail.co.th
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
ที่ว่าการอำเภอป่าซาง หมู่ที่ 1 ถนนลำพูน-ลี้ ตำบลป่าซาง อำเภอป่าซาง
จังหวัดลำพูน 51120
โทรศัพท์: 0-5352-1059,0-5352-1274
โทรสาร: 0-5352-1059
อีเมล:
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
ที่ว่าการอำเภอเมืองลำพูน เลขที่ 200 หมู่ที่ 3 ตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน 51000
โทรศัพท์: 0-5351-1080
โทรสาร: 0-5351-0737
อีเมล:
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
ที่ว่าการอำเภอแม่ทา หมู่ที่ 3 ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่-ลำปาง ตำบลทาสบเส้า อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน 51140
โทรศัพท์: 0-53976305
โทรสาร: 0-53976305
อีเมล:
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
ที่ว่าการอำเภอลี้ เลขที่ 29 หมู่ 4 ถนนพหลโยธิน ต.ลี้ อ.ลี้ จ.ลำพูน
โทรศัพท์: 053-979773
โทรสาร: 053-979773
อีเมล:
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567
ที่ว่าการอำเภอเวียงหนองล่อง หมู่ที่ 8 ตำบลหนองล่อง อำเภอเวียงหนองล่อง
จังหวัดลำพูน 51120
โทรศัพท์: 0-5350-4967
โทรสาร: 0-5350-4967
อีเมล:
สายตรงศูนย์ดำรงธรรม 1567